สหยานยนต์ค้ารถมือสอง
ประวัติความเป็นมา
บริษัทสหยานยนต์ค้ารถมือสอง
จำกัด จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 31 มากราคม
พ.ศ.2541 เพื่อจำหน่ายรถยนต์มือสองในราคาถูก โดยบริษัทของเรามีรถมือสองจำนวนมากมายหลายยี่ฮ้อ โดยลูกค้าสามารถเข้ามาดูหรือสั่งจองสินค้าและเปรี่ยบเทียบราคาหรือสภาพของแต่ละคัน
รถของเรามีกรรมสิทธิ์การโอนที่ถูกต้องตามกฏหมาย
และบริษัทของเรายังมีบริการซ่อมบำรุงหลังการขาย
เพราะฉะนั้นจึงวางใจได้ที่จะใช้บริการบริษัทของของเรา
นโยบายบริษัท
บริษัทฯ
มีการกำหนดนโยบาย ดังนี้
"เน้นคุณภาพรถ ส่งมอบผลิตภัณฑ์
และบริการที่มีคุณภาพเพื่อให้ลูกค้าได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด"
เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของนโยบาย
เรามุ่งมั่นที่จะ
1. ศึกษาและทำความเข้าใจความต้องการและ
หรือความคาดหวังของลูกค้า
|
|
2. ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ที่นำเข้า
– ปรับปรุง และก่อนส่งมอบให้ลูกค้าให้
มั่นใจว่าครบตามข้อกำหนดที่ระบุไว้ |
|
3. พัฒนาการบริหารงานในองค์กร
ด้วยความเอาใจใส่เพื่อให้ได้สินค้าที่ดีถึงลูกค้า
|
|
4. พัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
โดยการฝึกอบรมและส่งเสริมให้ความรู้ที่ถูกต้อง
|
|
นโยบายด้านคุณภาพ
สู่
ความเป็นผู้นำด้านการขายรถยนต์มือสอง โดยการส่งสินค้าที่มีคุณภาพ
เข้าสู่ตลาด เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศไทย รถยนต์มือสองของเราผ่านการตรวจสภาพอย่างละเอียดจากพนักงานมากด้วย ประสบการณ์ของเรา จนมั่นใจได้ว่าสินค้าที่จะส่งถึงมือลูกค้าจะมีความ ปลอดภัย
วิสัยทัศน์
"เน้นคุณภาพรถ ส่งมอบผลิตภัณฑ์ และบริการที่มีคุณภาพเพื่อให้ลูกค้า ได้รับความพึงพอใจอย่างสูงสุด"
การดำเนินงานของธุรกิจโดยรวม
• รับสมัครสมาชิกเข้าร่วมทำธุรกิจ
• รับสมัครผู้บริหารคลังสินค้า
• รับสมัคพนักงานที่มีคุณภาพเข้ามาทำงานกับเรา
• บริหารองค์กรด้วยธุรกิจเครือข่าย
• บริการจำหน่ายรถยนต์
• จัดหารถยนต์ให้ทันกับความต้องการของลูกค้า
ผังการจัดการองค์กร
หน้าที่
ปัญหา และการแก้ปัญหาของแต่ละแผนก มีดังนี้
ฝ่ายงานบริหารทั่วไป
แผนกบัญชี มีหน้าที่ดังนี้
- ควบคุมดูแลงานด้านการบริหารงานบัญชีและการเงิน
- ควบคุมการกระทบยอดทางด้านงบการเงิน วิเคราะห์งบการเงินในแต่ละเดือน
- ควบคุมดูแลจัดทำงบลงทุน งบกำไรขาดทุน งบดุล และปิดงบการเงิน
- วางแผนการทำงานและควบคุมดูแลผู้ใต้บังคับบัญชาในหน่วยงาน
- เบิกจ่ายรายจ่ายที่จัดสรรแล้วให้แก่แผนกต่างๆ
- ควบคุมอนุมัติรายจ่ายให้เป็นไปตามงบประมาณที่ได้จัดสรรไว้
ปัญหาคือ ยอดเงินที่ได้ในแต่ละเดือนไม่ตรงกับจำนวนสินค้าที่ขายออกไป
การสรุปยอดเป็นไปด้วยความยุ่งยาก
แผนกบุคล มีหน้าที่ดังนี้
มีหน้าที่ในการจัดการ ดูแล งานด้านการบริหารงานบุคคลทั้งหมด
ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการรับสมัครงาน, การคัดเลือกบุคลากรเข้ามาทำงาน, การดูแลเกี่ยวกับการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมายแรงงาน, การลงโทษพนักงาน, การดูแลสวัสดิการและความเป็นอยู่ของพนักงานภายในองค์กร เป็นต้น
ปัญหาคือ
เนื่องจากพนักงานมีเป็นจำนวนมากทำให้อยากต่อการตรวจสอบดูแล
ฝ่ายปฎิบัติการ
แผนกงานขาย มีหน้าที่ดังนี้
- ตรวจสอบความสะอาดเรียบร้อยโชว์รูมและรถโชว์ประจำวัน
-
เตรียมอุปกรณ์การขายและความพร้อมด้านต่าง ๆ
- ต้อนรับลูกค้าด้วยความสุภาพ
-
อธิบายรายละเอียดของสินค้าในรถรุ่นที่ลูกค้าสนใจ
- ติดตามปิดการขายตามเป้า
-
ประสานงานไฟแนนซ์ให้ลูกค้ากรณีซื้อผ่อนพร้อมติดตามผล
-
ประสานงานกับฝ่ายจัดส่งเพื่อส่งสินค้าให้ตรงเวลา
ปัญหาคือ
ป้ายราคาที่ติดไว้เกิดการผิดพลาดราคาไม่เป็นไปตามความเป็นจริง
ไม่รู้รายละเอียดสินค้า
แผนกการตลาด มีหน้าที่ดังนี้
การวิจัยรูปร่างลักษณะ รูปแบบ และความต้องการผลิตภัณฑ์รถยนต์
ทั้งนี้หมายความว่าการตลาดจะเริ่มก่อกระบวนในการผลิต
• การกำหนอราคาในระดับผู้ผลิต
และระดับผู้ค้าปลีก
• การขนส่งและการเก็บรักษารถยนต์ที่ผลิตแล้ว
คือ ในชั้นแรกเป็นเรื่องของผู้ผลิต
และผู้ค้าปลีกในขั้นต่อมา
• การโฆษณา ควรใช้สื่อตรง ได้แก่ วารสาร
วิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์
หนังสือพิมพ์แผ่นป้ายโฆษณา และสื่ออื่น ๆ
• การจัดเตรียมเครื่องมือที่ใช้สำหรับการขาย
และสิ่งช่วยในการส่งเสริมการขาย
ให้กับตัวแทนจำหน่าย
• การบริหารกิจการของตัวแทนจำหน่ายในการทำให้ผู้บริโภคได้รับการบริการที่
ประทับใจตลอดทั้งการให้โควตาในการขาย นโยบายการขาย แผนการขายและ การควบคุมการขาย
• การขายโดยใช้พนักงานขายที่เป็นบุคลากรของตัวแทนจำหน่ายและการเปลี่ยน
ทะเบียนเจ้าของรถ
• การช่วยเหลือทางการเงินให้แก่ตัวแทนจำหน่ายในด้านสินค้าคงเหลือและการขาย
ผ่อนชำระให้กับผู้ซื้อ
• การเตรียมให้บริการการจองรถยนต์
เพื่อความสะดวก ความพอใจของลูกค้า
ปัญหาคือ ไม่รู้ว่าความว่าต้องการเป็นอย่างไรและอยากต่อการสำรวจ
ฝ่ายธุรการ
แผนกประชาสัมพันธ์ มีหน้าที่ดังนี้
ดำเนินการประชาสัมพันธ์ทั้งภายนอกและภายในของบริษัท
รับเรื่องร้องเรียนจากลูกค้าวิเคราะห์และพัฒนาค่า CSI และนำเสนอ Graphติดตามลูกค้าทางโทรศัพท์และทางจดหมายสื่อสารและประชาสัมพันธ์ให้ลูกค้าที่ราบข่าวสารของบริษัท
ปัญหาคือ การสื่อสารกับลูกค้าบางทีสื่อสารกันไม่เข้าใจ
เรื่องที่ประชาสัมพันธ์ไปก็
แผนกจัดส่งสินค้า มีหน้าที่ดังนี้
มีหน้าที่จัดส่งสินค้าตามที่อยู่ที่ของลูกค้า
ที่ลูกค้าให้ไว้กับแผนกงานขาย ต้องส่งให้ครบตามจำนวนที่สั่ง
ปัญหาคือ ส่งของไม่ตามกำหนดที่นัดไว้กับลูกค้า
ของเกิดการเสียหายระหว่างทำการขนส่ง
ฝ่ายโรงงาน
แผนกรับรถ มีหน้าที่ดังนี้
- การนัดหมายลูกค้าที่เข้ามารับบริการรวมถึงเวลาเข้าซ่อม
ประมาณเสร็จ ความพร้อมของอะไหล่
- ออกใบสั่งซ่อมตามความต้องการของลูกค้าอย่างครบถ้วน
- ติดตามคืบหน้าของงานที่ลูกค้าแจ้งและแจ้งลูกค้าให้ทราบเป็นระยะ
- ตรวจสอบงานที่ได้ซ่อมในขั้นสุดท้ายให้เรียบร้อนก่อนส่งมอบ
- อธิบายรายละเอียดงานซ่อมให้แกลูกค้าทราบและแนะนำการบริการครั้งต่อไป
ปัญหาคือ การนัดหมายกับลูกค้าอาจจะคลาดเคลื่อน
ใบสั่งของที่ลูกค้าสั่งอาจเขียนไว้ไม่ถูกต้อง
แผนกช่างซ่อมบำรุง มีหน้าที่ดังนี้
- รักษาและซ่อมบำรุงอะไหล่ วัสดุภัณฑ์
ให้อยู่ในสภาพ เรียบร้อยใช้งานได้ดีอยู่เสมอ
- ให้บริการและบำรุงรักษาระบบอำนวยความสะดวกต่างๆ
-
ซ่อมรถตามความต้องการของลูกค้าและเลือกใช้อะไหล่ตามความต้องการของลูกค้า
ปัญหาคือ ไม่รู้ว่าลูกค้าต้องการอะไหล่แบบไหน เลือกใช้อะไหล่ผิดประเภท
แผนกอะไหล่
มีหน้าที่ดังนี้
ดูแลบุคลากรในหน่วยงานให้มีวินัย
และมีความรู้ความสามารถในการทำงาน พัฒนาบุคลากรให้มีประสิทธิภาพในการทำงาน
ดูแลเกี่ยวกับรายงานต่าง ๆ ดูแลมาตรฐานของ TEAD และ ทำงานให้ได้มาตรฐานของบริษัทฯ
ดูแลเกี่ยวกับการสั่งอะไหล่
เพื่อปรับเปลี่ยนในส่วนที่เสียของรถ
ปัญหาคือ บางทีอะไหล่หมดแต่ไม่รู้ว่าหมด เลยทำให้สินค้าขาดสต็อก
สั่งไม่ทัน และไม่รู้ว่าอะไหล่ชิ้นไหนออกไปแล้วบ้างเหลืออะไหล่ในสต็อกอีกกี่ชิ้น
ปัญหาระหว่างแผนกที่เกี่ยวข้องกัน
ปัญหาระหว่างแผนกซ่อมบำรุงกับแผนกอะไหล่
แผนกซ่อมบำรุงไม่รู้ว่ามีอะไหล่ตัวไหนอยู่ในสต็อกบ้าง
มีสีอะไรบ้าง มีแบบไหน แผนกอะไหล่ไม่รู้ว่าช่างซ่อมบำรุงต้องใช้อะไหล่ตัวไหน
จำนวนเท่าไร
ปัญหาระหว่างแผนกงานขายกับแผนกบัญชี
แผนกบัญชีไม่รู้ว่าขายอะไหล่ออกไปเป็นเงินเท่าไรแล้ว
จะสรุปยอดสินเดือนก็ไม่ได้ เพราะไม่ได้รับข้อมูลจากแผนกการขาย
ปัญหาระหว่างแผนกจัดส่งสินค้ากับแผนกขาย
แผนกจัดส่งสินค้าไม่รู้ว่าต้องส่งสินค้าอะไรบ้าง
จำนวนกี่ชิ้น ไปที่ไหน แล้วลูกค้าที่รับเป็นใคร
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกรับรถ
แผนกบัญชีไม่รู้ว่ายอดจำนวนรถยนต์ที่รับเข้ามามีจำนวนกี่คัน
รุ่นอะไร บ้าง
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกช่างซ่อมบำรุง
แผนกบัญชีไม่รู้ว่ายอดจำนวนรถยนต์ที่รับเข้ามามีจำนวนกี่คัน
รุ่นอะไร ต้องใช้อะไหล่อะไรบ้างรวมไปถึงค่าซ่อมบำรุงด้วย
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกอะไหล่
แผนกบัญชีไม่รู้ว่ายอดจำนวนอะไหล่ที่แผนกอะไหล่ใช้ไปและสั่งเข้ามามีจำวนกี่ชิ้น
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกจัดส่งสินค้า
แผนกบัญชีไม่รู้ว่ารายการสินค้าที่ต้องทำการจัดส่งให้กับลูกค้ามีจำนวนเท่าไรและมีรายรับเท่าไรในแต่ละเดือน
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกขาย
แผนกบัญชีไม่รู้ว่ายอดขายในแต่ละเดือนของแผนกขายมีรายได้เท่าไรและขายรถรุ่นอะไรจำนวนกี่คัน
สีอะไรราคาเท่าไรบ้าง
ปัญหาระหว่างแผนกบัญชีกับแผนกบุคล
แผนกบัญชีไม่รู้ว่าค่าจ้างที่ต้องจ่ายให้พนักงานในแต่แผนก
เป็นจำนวนเงินเท่าไรเพราะแต่ละแผนกให้ค่าจ้างพนักงานไม่เหมือนกัน
ขอบเขตของการพัฒนาระบบ
1. ระบบงานขาย
2. ระบบงานบัญชี
3. ระบบงานธุรการ
4. ระบบโรงงาน
การประเมินความต้องการของบริษัท
ตารางแสดงรายการ การทำงาน (Functions) หรือกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดขององค์กร
แสดงการจำแนกกิจกรรม(Activites) ของหน้าที่ของการทำงาน
(Functions) ในบริษัท
(Function-to-Data
Entities)
ตารางที่ 1 แสดงความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่และหน่วยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ (Project Identification and Selection) 1. ค้นหาโครงการที่ต้องการพัฒนาจากการค้นหาโครงการของแผนกต่าง ๆ สามารถรวบรวมโครงการพัฒนาระบบได้ทั้งหมด 3โครงการดังนี้
จำแนกและจัดกลุ่มโครงการที่ค้นหามา
เมื่อนำโครงการทั้ง 3
มาเปรียบเทียบกับวัตถุประสงค์ของบริษัทเพื่อค้นหาโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์มากที่สุด และสามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดของบริษัทได้ ดังรายละเอียดของตารางต่อไปนี้
ตารางเมตริกซ์ Information System –to-Objectives
จาก การพิจารณาโครงการทั้ง 3 โครงการตามวัตถุประสงค์ ขนาดโครงการ และผลประโยชน์ จะพบว่าโครงการที่ตรงตามวัตถุประสงค์ และให้ผลประโยชน์แก่บริษัทมากที่สุดคือ โครงการพัฒนาระบบการขาย จึงปฏิเสธโครงการทั้ง 2 ระบบ ถึงแม้ว่าจะให้ผลประโยชนและสามารถนำบริษัทไปสู่เป้าหมายได้
การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
แนวทางเลือกเพื่อนำระบบใหม่มาใช้งาน
โดยจะบอกถึงรายระเอียดของระบบที่จะพัฒนามีดังนี้ ระบบการขาย ระบบบัญชี ระบบการตลาด โดยมีแนวทางเลือกจำนวนทั้งสิน 2 ทางเลือก
1.ซื้อซอฟแวร์สำเร็จรูป
2.จ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
ทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้ที่ดีที่สุด
การเสนอแนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งาน
ทางเลือกที่ 1 : การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จรูป มีรายละเอียดดังตาราง
การประเมินแนวทางเลือกที่ 1
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกซอฟต์แวร์ที่เหมาะสม
โดยกำหนด
เกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้
ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้
ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้
พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1 ช่วงคะแนน 49-30 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้
ปรับปรุง
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 1
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกซื้อ Software B
มาใช้งาน เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
ทางเลือกที่ 2
: ว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
มีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
การประเมินแนวทางเลือกที่ 2
ทางทีมงานได้ทำการประเมินผลแนวทางเลือกว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ
ที่เหมาะสม โดยกำหนดเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) เชิงปริมาณเปรียบเทียบไว้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
น้ำหนักเท่ากับ 4 ช่วงคะแนน 100-90 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ดีมาก
น้ำหนักเท่ากับ 3 ช่วงคะแนน 89-70 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้
ดี
น้ำหนักเท่ากับ 2 ช่วงคะแนน 69-50 เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้
พอใช้
น้ำหนักเท่ากับ 1
ช่วงคะแนน 49-30
เปอร์เซ็นต์ เกณฑ์ที่ได้ ปรับปรุง
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกที่ 2
สรุปผลการประเมินแนวทางเลือกและคัดเลือกว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ
B มาใช้งาน
เนื่องจากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุด
เปรียบเทียบแนวทางเลือกทั้ง2
ผลจากการพิจารณาแนวทางเลือกของทีมงานจากทั้งสองแนวทาง
จะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของผู้บริหารเพื่อพิจารณาเลือกแนวทางตามที่ได้นำ
เสนอจากทีมงานพัฒนา พร้อมข้อเสนอแนะในแต่ละแนวทางเลือกหลักทั้งสอง
โดยมีรายละเอียดดังตารางต่อไปนี้
ข้อเสนอแนะแนวทางเลือกทั้ง2แนวทาง
แนวทางเลือกที่ 1 การจัดซื้อซอฟต์แวร์สำเร็จระบบB
ข้อดี ระบบ มีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการ
ของบริษัทที่ได้จัดทำไว้ราค่ามาต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบไม่สูงมากนัก
ข้อเสีย
ระบบไม่สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการแต่ก็ไม่กระทบองค์กรใช้ระยะเวลาในการติดตั้งและฝึกอบรมการใช้งานนาน
แนวทางเลือกที่ 2
การว่าจ้างบริษัทภายนอกเพื่อพัฒนาระบบ B
ข้อดี ระบบ
มีความสามารถพัฒนาระบบได้ตรงตามข้อกำหนดคุณสมบัติทางเทคนิคและความต้องการ
ของบริษัทที่ระบบยังมีความยืดหยุ่นในปรับแต่งได้ตามความต้องการโดยไม่กระทบ
องค์กรสามารถพัฒนาไปยังอนาคตข้างหน้าได้ใช้ระยะเวลาติดตั้งและฝึกอบรมการใช้
งานน้อย
ข้อเสีย ราค่าต้นทุน/ค่าบำรุงรักษาระบบค่อนค้างสูง
ผู้บริหารเลือกแนวทางที่ดีที่สุด
หลังจากหัวหน้าทีมงานได้เสนอแนวทางเลือก
โดยจัดทำข้อมูลเปรียบเทียบและข้อเสนอแนะแก่ทีมผู้บริหาร
โดยใช้กฎเกณฑ์การให้น้ำหนัก (คะแนน) ดังตารางต่อไปนี้
สรุปผลการประเมินโดยทีมงานผู้บริหาร
ทางทีมงานผู้บริหารได้พิจารณาตัดสินใจเลือกแนวทางการว่าจ้างบริษัทติดตั้งระบบ B เนื่อง
จากมีความเหมาะสมและตรงกับความต้องการมากที่สุดนอกจากจะช่วยเพิ่ม
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินงานแม้ว่าราค่าค่าติดตั้งจะค่อนค้างสูง
แต่ก็มีความคุ้มค่าในการลงทุนแล้วแล้วยังสามารถพัฒนาไว้ใช้งานในระยะยาว
ขั้นตอนที่ 2
การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป้าหมาย
นำระบบสาระสนเทศเพื่อการบริหารงานขายมาใช้งานในบริษัทเพื่อตอบสนองความต้องการและสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า
วัตถุประสงค์
โครงการพัฒนาระบบการสั่งจองรถยนต์มีวัตถุประสงค์ของการดำเนินงานเพื่อ
วิเคราะห์ ออกแบบ และพัฒนาให้เป็นระบบงานขายที่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ได้ ได้อย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ขอบเขตของระบบ
โครงการพัฒนาระบบการสั่งจองรถยนต์ได้มีการจัดทำขึ้นโดยการว่าจ้างบริษัท B มารับผิดชอบโครงการ
พร้อมกันนี้ได้กำหนดขอบเขตของระบบนี้มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
· ระบบจะต้องแบ่งการทำงานอย่างชัดเจน แต่ข้อมูลสามารถเชื่อมโยงกันได้
· ระบบจะต้องรองรับการทำงานแบบ Multi-User ได้
· ระบบจะต้องใช้งานง่ายและสะดวก
· ระบบจะต้องเกิดข้อผิดพลาดน้อยที่สุดต่อการทำงาน
· ระบบจะต้องมีความถูกต้องและแม่นยำมากที่สุด
ปัญหาที่พบจากระบบเดิม
· การเก็บรวบรวมข้อมูลของลูกค้าและการค้นหาข้อมูลของลูกค้าเกิดความซ้ำซ้อน
· การจัดเก็บข้อมูลของสินค้าไม่เป็นระบบ
· ข้อมูลที่ได้ไม่มีความชัดเจนและแน่นอน
· เนื่องจากเป็นระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลอยู่ตลอดเวลาทำให้ข้อมูล
เกิดความเสียหายและสูญหายได้
· ยากต่อการหาข้อมูล
· การทำงานของพนักงานแต่ละฝ่ายไม่มีความแน่นอน
ความต้องการในระบบใหม่
ความต้องการในระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้ คือความรวดเร็วของระบบใหม่
ในการทำงาน
·
สามารถเก็บ และตรวจสอบข้อมูลลูกค้า สินค้าได้
·
สามารถเพิ่ม แก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของสินค้าและข้อมูลลูกค้าได้
·
ให้การบริการแก่ลูกค้าในการซื้อขายเช่น การสั่งจองสินค้า การออกใบเสร็จ คำนวณ
อัตราค่าภาษีและการชำระจ่ายเงินได้ เป็นต้น
·
สามารตรวจเช็คสินค้าที่ลูกค้าต้องการจองได้
·
การเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานทุกฝ่ายเช่น
บัญชี
ประโยชน์ที่ได้รับจากระบบใหม่
· บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
· บริษัทสามารถตัดสินใจในการจัดจำหน่ายสินค้าได้
· บริษัทมีผลการดำเนินการที่ดีขึ้น
· ขั้นตอนการทำงานของระบบในบริษัทที่มีความรวดเร็ว
· ขั้นตอนการสั่งจอง-การซื้อ-ขายรถยนต์ มีความถูกต้อง ชัดเจนและรวดเร็วในการทำงาน
· สามารถจัดเก็บข้อมูลสินค้า
ทำให้การสั่งจอง-การซื้อ-ขายสินค้าได้รวดเร็วและถูกต้อง
และมีเอกสารใบเสร็จยืนยันให้ลูกค้า
· การทำงานของพนักงานเป็นระบบและมีประสิทธิภาพสะดวกสบายในการตรวจเช็คยอดขายและสินค้าลดระยะเวลาในการทำงาน
แนวทางในการพัฒนา
การพัฒนาระบบของบริษัทสหยานยนต์ค้ารถมือสอง
เป็นการพัฒนาระบบในส่วนของการสั่งจิงรถยนต์และในส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องเช่น การทำงานของพนักงานในแต่ละหน้าที่ ซึ่งบางครั้งการทำงานขั้นตอนต่าง ๆ
อาจจะมีเอกสารหรือข้อมูลที่ซับซ้อนหลายขั้นตอน ดังนั้นจึงได้มีการวิเคราะห์ระบบใหม่เพื่อความสะดวกและมีประสิทธิภาพในการทำ
งาน เมื่อพิจารณาถึงขั้นตอนการดำเนินงานให้เหมาะสมกับบริษัทแล้วสามารถแบ่งได้
ทั้งหมด7ขั้นตอน
1. การค้นหาและเลือกสรรโครงการ
2. การเริ่มต้นและการวางแผนโครงการ
3. การวิเคราะห์ระบบ
4. การออกแบบเชิงตรรกะ
5. การออกแบบเชิงกายภาพ
6. การพัฒนาและติดตั้งระบบ
7. การซ่อมบำรุงระบบ
ขั้นตอนที่ 1 การค้นหาและเลือกสรรโครงการ ( Project Identification and Selection )
เป็นขั้นตอนในการค้นหาโครงการเพื่อพัฒนาระบบใหม่ให้เหมาะสมกับระบบเดิมหรือ
ให้เหมาะสมกับองค์กรที่มีการเปลี่ยนแปลงหรือต้องการ
ระบบเพื่อนำมาใช้ในการ
บริหารงานในส่วนที่เกิดความบกพร่องของบริษัท เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดในการทำงานขององค์กร
ดังนั้นจึงได้ยกตัวอย่างบริษัทที่ต้องการพัฒนาระบบคือบริษัทสหยานยนต์ค้ารถมือสอง
ข้อมูลดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในส่วนของระบบที่ต้องการแก้ไขคือ
· การสั่งจองสินค้า
· การเช็คสินค้าที่ลูกค้าต้องการจอง
· การจัดเก็บข้อมูลของลูกค้าและข้อมูลการสั่งจองสินค้า
ขั้นตอนที่ 2 การเริ่มต้นและวางแผนโครงการ
เป็นขั้นตอนในการเริ่มต้นทำโครงการด้วยการเริ่มต้นจัดตั้งทีมงาน ซึ่งเราจะต้องกำหนดหน้าที่ให้กับทีมงานแต่ละคนอย่างชัดเจนเพื่อร่วมกันสร้าง
แนวทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้งานและนอกจากขั้นตอนดังกล่าวแล้วยังมีขั้น
ตอนอื่นอีกมากที่เกี่ยวข้องซึ่งเราสามารถสรุปกิจกรรมในขั้นตอนนี้ได้ดังนี้
· เริ่มต้นทำโครงการ
ก่อนเริ่มทำโครงการเราควรศึกษาระบบเดิมในการทำงานก่อน
· กำหนดวัตถุประสงค์หรือทางเลือกในการนำระบบใหม่มาใช้
· วางแผนการทำงานของระบบใหม่
ขั้นตอนที่ 3 การวิเคราะห์
1. ศึกษาขั้นตอนการทำงานของระบบเดิม ดูว่าการทำงานของบริษัท มี
การนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างไรและเหตุใดจึงต้องมีการเปลี่ยนแปลงระบบ เดิม และระบบที่เปลี่ยนแปลงนี้จะเปลี่ยนในส่วนของระบบการสั่งจองสินค้า
2. การรวบรวมความต้องการในระบบใหม่จากผู้ใช้ระบบ ศึกษาหรือสอบถามข้อมูลของระบบเดิมจากพนักงานหรือผู้ใช้ระบบ
3. จำลอง แบบความต้องการที่รวบรวมได้ เมื่อเรารวบรวมข้อมูลมาได้แล้ว ก็สามารถออกแบบจำลองดังกล่าวได้ ด้วยวิธีการใดก็ได้ที่นักวิเคราะห์ระบบนำมาใช้ในการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 4 การออกแบบเชิงตรรกะ
เป็นขั้นตอนในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบในแต่ละส่วนงานหรือแต่ละแผนก
ของงาน ซึ่งในการออกแบบระบบ ระบบงานที่ได้ในแต่ละส่วนจะไม่เหมือนกัน ซึ่งอาจจะมีแบบฟอร์มหรือผลลัพธ์ที่ได้เมื่อเราวิเคราะห์ขบวนเสร็จเรียบร้อย
แล้ว
ขั้นตอนที่ 5 การออกแบบ User Interface
บริษัท สหยานยนต์ค้ารถมือสอง จำกัด
มีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดิมเป็นแบบ LAN ดังนั้นในการออกแบบApplication ขั้น ตอนนี้ ทางทีมงานจึงเห็นควรว่า ระบบจัดซื้อ
สำหรับแผนกจัดซื้อนั้นจะเป็นแบบกระจาย
เพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับระบบเครือข่ายเดิม (LAN) ที่มีรูปแบบเป็น Client/Server โดยจะจัดเก็บฐานข้อมูลไว้ที่เครื่องแม่ข่าย (Server)
เช่น
1. แผนกคลังสินค้า สามารถดูการจัดเก็บสินค้าที่ลูกค้าต้องการสินค้า บริษัทสามารถนำสินค้าไปจำหน่าย ทำให้เกิดความพึงพอใจแก่ลูกค้าและลูกค้าสามารถเช็คสินค้าที่ลูกค้าต้องการได้โดยไม่เสียเวลา 2. แผนกขาย สามารถเรียกดูข้อมูลจากระบบการขายสินค้าได้ คือ การจัดเตรียมอุปกรณ์ คำนวณสินค้า สามารถคำนวณได้รวดเร็วและว่องไวในการขายสินค้า
3. แผนกบัญชี
สามารถตรวจดูการซื้อขายสินค้าทั้งหมด เพื่อจัดทำเป็นบัญชีรายรับ-รายจ่าย
ขั้นตอนที่ 6 การพัฒนาและติดตั้งระบบ
ขั้นตอนนี้จะนำข้อมูลเฉพาะในส่วนที่ต้องการออกแบบของระบบมาทำการเขียน
โปรแกรม เพื่อให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่ต้องการของระบบงานใหม่ อาจนำโปรแกรมที่เขียนสำเร็จรูปแล้วมาใช้งานในระบบก็ได้ หลังจากเขียนโปรแกรมแล้วเราก็ควรทำการทดลองว่าโปรแกรมใช้งานได้เหมาะสมกับ
การทำงานของบริษัทหรือไม่ ซึ่งในขั้นตอนนี้มีกระบวนการทำงานดังนี้
· เขียนโปรแกรม
· ทดสอบโปรแกรม
· ติดตั้งระบบ
· จัดทำเอกสาร สรุปผลการทำงานของระบบ
ขั้นตอนที่ 7 การซ่อมบำรุงระบบ
อาจ จะเป็นขั้นตอนสุดท้ายในการปรับปรุงระบบ เพราะหลังจากได้ระบบใหม่มาแล้ว เราก็นำเอาระบบที่ได้มานี้ทำการแก้ไขหากระบบที่ได้มาเกิดข้อผิดพลาดแผนการดำเนินงานของโครงการ
แผนการดำเนินงานของโครงการที่ต้องการวิเคราะห์ระบบที่มีการเปลี่ยนแปลง คือ ระบบการสั่งจองสินค้า และส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้
- ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการ
- ประมาณการใช้ทรัพยากร
- ประมาณการใช้งบประมาณ
- ประมาณระยะเวลาดำเนินงาน
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความต้องการของระบบใหม่
(System Requirement Structuring)
จากการวิเคราะห์ความต้องการระบบใหม่ที่รวบรวมมาได้จากผู้ใช้ระบบ
โดยสามารถจำลองได้ด้วยแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD) ได้ดังนี้
Context
Diagram
ระบบการสั่งจองรถ
บริษัทสหยานยนต์ค้ารถมือสอง
อธิบายการทำงานของ
Context Diagram
1 ลูกค้า
ข้อมูลส่วนใหญ่ที่นำเข้าสู่ระบบนั้นจะข้อมูลการชำระเงิน
ข้อมูลการสั่งซื้อ User/password
ข้อมูล สมัครสมาชิก และระบบก็จะส่งข้อมูลออกมาให้แก่ลูกค้า
จะมีข้อมูลใบส่งสินค้าและใบเสร็จรับเงินรายการที่สั่งซื้อ ข้อมูลการเข้าสู่ระบบ
2 ตัวแทนจำหน่าย
หาก
จำนวนวัตถุดิบในศูนย์ถึงจุดสั่งซื้อ
ทางศูนย์จะทำการสั่งซื้อสินค้าเข้ามาจากตัวแทนจำหน่าย
โดยระบบจะส่งข้อมูลออกใบสั่งซื้อสินค้า และข้อมูลการชำระเงิน
และข้อมูลที่จะถูกส่งเข้าไปในระบบจะมีข้อมูลใบส่งวัตถุดิบและใบเสร็จรับเงิน
3 ผู้จัดการ
ส่วน
ของการนำข้อมูลออกจากระบบ ก็จะเป็นการสรุปหรือรายงานต่างๆ
รายงานข้อมูลการสั่งซื้อวัตถุดิบ รายงานข้อมูลการชำระเงิน รายงานข้อมูลการขาย
รายงานข้อมูลการผลิต
4 Admin/ผู้ดูแลระบบ
ข้อมูล
ที่นำเข้าสู่ระบบจะเป็นข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลการผลิต ข้อมูลสินค้า และข้อมูลที่ส่งออกจากระบบก็คือ ข้อมูลการแก้ไขสมาชิก
ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า ข้อมูลลูกค้า
Dataflow
Diagram
อธิบาย
Dataflow
Diagram Level 0
จาก
Context Diagram
สามารถแบ่งขั้นตอนการทำงานภายในระบบออกเป็น 2 ขั้นตอน
ด้วยการวิเคราะห์จากความต้องการของผู้ใช้ที่รวบรวมมาได้
สำหรับการคำนวณค่างวดเกี่ยวข้องกับรายได้ของบริษัท ดังนั้นจึงแยก Process ที่เกี่ยวข้องกับระบบ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.Process 1 (การสมัครสมาชิก)
เมื่อลูกค้าทำการสมัครสมาชิกโดยกำหนดUser/Passwordของตัวลูกค้าเองเรียบร้อยแล้ว
ระบบจะทำการจัดเก็บข้อมูลการสั่งจองของลูกค้าโดยมี Adminเป็นผู้ดูแลระบบ
2.Process 2 (การสั่งจอง)
ลูกค้าต้องทำการเข้ารหัสUser/Passwordของตัวลูกค้าเองก่อนจากนั้นระบบจะทำการหาข้อมูลของลูกค้า
เมื่อลูกค้าทำการเข้าระบบเรียบร้อยแล้วระบบจะทำการบอกรายระเอียดการจองและเงือนไขการจองแก่ลูกค้า
เมื่อลูกค้าทำการจองสินค้าระบบจะทำการค้าหาข้อมูลของสินค้าที่ลูกค้าได้ทำการจองว่ามีหรือไม่มี
เมื่อลูกค้าทำการจองสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วระบบจะทำการเก็บข้อมูลไว้ในข้อมูลการจองสินค้าของลูกค้า
3.Process3 (การรับชำระเงิน)
เมื่อลูกค้าทำการสั่งจองสินค้าระบบจะทำการคำนวณราคาสินค้าทั้งหมดที่ลูกค้าได้ทำการสั่งจองไว้ว่าเป็นจำนวนเท่าไร
เมื่อระบบทำการคำนวณราคาเสร็จระบบจะทำการออกใบเสร็จรับเงินให้แก่ลูกค้า
4.Process 4(การจ่ายชำระเงิน)
เมื่อ
ลูกค้าทำการสั่งจองสินค้าเป็นที่เรียบร้อยแล้วระบบจะทำการเช็คว่าลูกค้าได้ ทำการจ่ายชำระเงินเป็นจำนวนเท่าไรและยังมียอดค้างชำระอยู่อีกเท่าไรให้แก่
ลูกค้า
5. Process
5 (รายงานการสั่งจอง)
เมื่อผู้จัดการต้องการพิมพ์รายงานผู้จัดการจะทำการเลือกรายงานจากระบบจากนั้น
Process จะ ทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลลูกค้า โดยแฟ้มข้อมูลสินค้า แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อ แฟ้มข้อมูลการชำระเงินมาทำการประมวลผล
เมื่อประมวลผลเสร็จเรียบร้อยระบบจะทำการส่งรายงานให้กับผู้จัดการ
DFD Level 1 of Process 1 (สมัครสมาชิก)
อธิบาย DFD Level 1 of Process 1 (สมัครสมาชิก)
Process 1
สมัครสมาชิกเป็นขั้นตอนการสมัคสมาชิกของลูกค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด
3 ขั้นตอน หรือ 3 Process ดังนี้
1.Process 1.1 ตรวจสอบสมาชิกเป็นขั้นตอนที่ทำการตรวจสอบข้อมูลต่าง
ๆของสมาชิกที่ทำการสมัคไว้นานแล้วหรือเพิ่งจะสมัค
-Process จะทำการรับข้อมูลการ
log in จากลูกค้าแล้ว Process ก็จะทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสมาชิก
มาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล
2.Process 1.2 แก้ไขข้อมูลสมาชิกเป็นขั้นตอนที่ทำการแก้ไขข้อมูลของสมาชิกเมื่อสมาชิกต้องการแก้ไขข้อมูลของตัวเอง
-Processจะทำการแก้ไขข้อมูลของสมาชิกเมื่อสมาชิกต้องการจะแก้ไขข้อมูลของตัวเองโดย Processจะทำการดึงข้อมูลเดิมมาทำการแก้ไข
3.Process 1.3 บันทึกข้อมูลสมาชิกเป็นขั้นตอนการบันทึกข้อมูลของสมาชิกเมื่อทำการแก้ไขเสร็จแล้วหรือบันทึกข้อมูลเดิมของสมาชิก
-Processจะทำการบันทึกข้อมูลของสมาชิกเมื่อทำการแก้ไขเสร็จแล้วนำไปเก็บไว้ในข้อมูลของสมาชิกจาจากนั้น
Process จะนำข้อมูลการแก้ไขข้อมูลของสมาชิกส่งไปยัง
ผู้ดูแลระบบ
DFD Level 1 of Process 2 (การสั่งจอง)
อธิบาย DFD Level 1 of Process 2 (การสั่งจอง)
Process 2 การสั่งจองเป็นขั้นตอนการสั่งจองสินค้าของลูกค้า มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด
5 ขั้นตอน หรือ 5 Process
ดังนี้
1.Process 2.1 รายการสินค้าเป็นขั้นตอนของรายการสินรถยนต์ทั้งหมดที่บริษัทมี
-Process จะทำการดึงข้อมูลของสินค้าทั้งหมดที่ลูกค้าสามารถสั่งจองได้ให้กับลูกค้า
2.Process 2.2 สั่งจองสินค้าเป็นขั้นตอนการทำการสั่งจองรายการสินค้าของลูกค้า
-Procossลุกค้าต้องทำการใส่User/Passwordของตัวเองก่อนจะทำการสั่งจองสินค้าที่ตนเองต้องการจะสั่งจองจาก
Process จะทำการดึงข้อมูลของสมาชิกมาเมื่อทำการสั่งจองเสร็จเรียบร้อยแล้วระบบจะทำการส่งรายการการสั่งจองไปไห้กับ
Process ต่อไป
3.Process 2.3 คำนวณอัตราภาษีเป็นขั้นตอนการคำนวณหาค้าภาษีของสินค้าทั้งหมดที่ได้ทำการสั่งจอง
-Processจะทำการดึงเอารายระเอียดการจองสินค้าและข้อมูลการสั่งจองสินค้ามาคำนวณหาอัตราภาษีของสินค้า
4.Process 2.4 ยืนยันการสั่งจองเป็นขั้นตอนของการยืนยันการสั่งจองสินค้าเมื่อลูกค้าได้ทำการสั่งจองเป็นที่เรียบร้อย
-Process จะทำการยืนยันการสั่งจองสินค้าโดย Process
จะดึงเอารายระเอียดการสั่งจองสินค้าของลูกค้ามาทำการยืนยัน
5.Process 2.5 บันทึกข้อมูลเป็นขั้นตอนการบันทึกข้อมูลการสั่งจองทั้งหมด
-Process จะทำการบักข้อมูลการสั่งจองสินค้าทั้งหมดเมื่อลูกค้าได้ทำการยืนยัน
แล้ว Process จะนำข้อมูการสั่งจองสินค้าให้กับผู้ดูแลระบบและส่งรายการสั่งจองที่ลูกค้าได้ทำไว้ให้กับตัวลูกค้าเอง
อธิบาย DFD Level 1 of Process 3 (การรับชำระ)
Process 3 การรับชำระเป็นขั้นตอนการรับชำระการสั่งจองสินค้าของลูกค้าว่ามียอดค้างชำระ
หรือไม่ มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 5
ขั้นตอน หรือ 5 Process ดังนี้
1.Process 3.1 ค้นหาข้อมูลเป็นขั้นตอนการค้นหาข้อมูลการจองและข้อของลูกค้า
-Process จะทำการค้นหาข้อมูลโดยการดึงเอาข้อมูลการสั่งจองสินค้าและข้อมูลลูกค้าแล้วส่งไปให้กับProcessต่อไป
2 .Process 3.2 คำนวณยอดค้างชำระเป็นขั้นตอนการคำนวณหายอดค้างชำระของลูกค้าที่มีอยู่ระบบ
-Process จะทำการดึงเอาข้อมูลการสั่งจองและข้อมูลรายระเอียดการจองของลูกค้ามาคำนวณหายอดค้างชำระแล้วส่งให้กับลูกค้า
3. Process 3.3 ประมวลการรับชำระเป็นขั้นตอนการรับชำระเงินจากลูกค้า
เมื่อลูกค้าทำการชำระเงิน
-Process จะทำการประมวลการรับชำระเงินแล้วส่งไปให้กับ Processต่อไปนำเนินการต่อ
4 .Process 3.4 พิมพ์เอกสารเป็นขั้นตอนการการออกใบเสร็จให้กับลูกค้า
-Process จะทำการดึงข้อมูลการรับชำระเงินแล้วออกเป็นเอกสารใบเสร็จให้กับลูกค้า
5 .Process 3.5 บันทึกข้อมูลการจองเป็นขั้นตอนการบันทึกการจองของลูกค้าเมื่อทำการชำระเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
-Process จะทำการดึงข้อมูลการออกใบเสร็จการรับชำระเงินมาบันทึกไว้
DFD Level 1 of Process 4(การจ่ายชำระเงิน)
อธิบาย DFD Level 1 of Process 4 (การรับชำระ)
Process 4
การรับชำระเป็นขั้นตอนการรับชำระการสั่งจองสินค้าของลูกค้าว่ามียอดค้างชำระ
หรือไม่ มีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 3
ขั้นตอน หรือ 3 Process ดังนี้
1. Process 4.1 รายการที่จ่ายชำระเงินเป็นขั้นตอนการนำรายการสินคนค้าที่ได้สั่งจองไว้มาให้ลูกค้าได้ดูว่าต้องจ่ายเท่าไร
-Process
จะทำการดึงข้อมูลการสั่งจองสินค้ามาทำให้เป็นรายการที่ต้องจ่ายชำระให้กับลูกค้า
2 .Process 4.2 ชำระเงิน
-Process จะทำการดึงข้อมูลการจ่ายชำระเงินของลูกค้าแล้วส่งไปให้กับตัวแทนจำหน่าย
3. Process 4.3 บันทึกข้อมูลเป็นขั้นตอนการบันทึกการจ่ายเงินของลูกค้า
-เมื่อทำการชำระเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
Process จะทำการบันทึกข้อมูลแล้วนำข้อมูลไปเก็บไว้ในข้อมูลการจ่ายชำระเงิน
DFD Level 1 of Process 5(รายงานการสั่งจอง)
อธิบาย DFD LEVEL 1 Of Process 5
Process 5 พิมพ์รายงานมีขั้นตอนการทำงานย่อยภายในทั้งหมด 2 ขั้นตอน หรือ 2 Process ดังนี้
1. Process
5.1 ตรวจสอบข้อมูลเป็นขั้นตอนที่ทำการตรวจสอบข้อมูลต่าง
ๆ
- Process
ทำการรับข้อมูลจากผู้จัดการแล้ว Process ทำการดึงข้อมูลจากแฟ้มข้อมูลสินค้า แฟ้มข้อมูลลูกค้า แฟ้มข้อมูลการชำระเงิน แฟ้มข้อมูลการสั่งซื้อ มาทำการประมวลผลเพื่อทำการตรวจสอบข้อมูล
2. Process
5.2 พิมพ์เป็นขั้นตอนการพิมพ์รายงาน
- Process ทำการรับข้อมูลจาก Process ที่ 5.1
มาทำการประมวลผลเพื่อทำการพิมพ์รายงานที่ผู้จัดการต้องการให้กับผู้จัดการ
|
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น